ศูนย์บริการซ่อม ELECTROLUX , HITACHI
บริการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าของ ELECTROLUX , HITACHI ทั้งในและนอกประกัน
จำหน่ายอะไหล่แท้
บริการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เครื่องทำน้ำอุ่น ไมโครเวฟ ฯลฯ ทุกยี่ห้อ
จำหน่าย บริการติดตั้ง - ซ่อม เครื่องปรับอากาศ
จำหน่าย บริการติดตั้ง - ซ่อม เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ
ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ
บริการโดยช่างผู้ชำนาญ บริการเป็นกันเอง สอบถามและเช็คราคาก่อนซ่อมได้
ติดต่อ.........พรลภัสแอร์เซอร์วิส
โทร ..086-4034006 , 092-2792442 , 081-3478152
แฟ็กซ์ .. 038-802961
Line...ponlaphatairservice
Email...ponlaphat-airservice@hotmail.co.th
จำหน่ายอะไหล่ แท้ Electrolux
แผงควบคุม เครื่องซักผ้า ฝาหน้า ฝาบน ทุกรุ่น
แผงควบคุม เครื่องอบผ้า เครื่องปรับอากาศ
สวิชประตู สายพาน
อะไหล่ของเครื่องใช้ไฟฟ้า electrolux Hitachi ทุกชนิด
เคล็ดลับน่ารู้ วิธีดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศ
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ในเมืองร้อนอย่างประเทศไทยของเรา เครื่องปรับอากาศ หรือ แอร์คอนดิชันเนอร์ กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกบ้านต้องมีติดไว้ โดยเฉพาะบางบ้านอาจจะมีมากกว่า 1 เครื่องด้วยซ้ำ ยิ่งถ้าบ้านไหนมีสมาชิกในบ้านที่ขี้ร้อนด้วยล่ะก็ เครื่องปรับอากาศของคุณคงจะต้องทำงานหนักสู้ร้อนกันทั้งวันเลยล่ะ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยก็คือการดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศของคุณอยู่เสมอ เพื่อให้อยู่ทนอยู่นานให้คุณได้ใช้ประโยชน์ในระยะยาว จะได้ไม่ต้องเสียเงินเปลี่ยนใหม่อยู่บ่อย ๆ
วันนี้เราจึงมีข้อมูลดี ๆ จาก กองวิศวกรรมการแพทย์ มาฝากกัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่จะช่วยดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศ เพื่อยืดอายุให้เครื่องปรับอากาศของคุณอยู่ไปได้อีกนาน ๆ ส่วนเคล็ดลับน่ารู้จะมีอะไรบ้างนั้น ลองไปดูกันเลยจ้า
เครื่องปรับอากาศขนาดเล็กที่ใช้กับบ้านพักอาศัยและสำนักงานทั่วไป สามารถแบ่งประเภทตามลักษณะการติดตั้งได้หลายประเภท เครื่องปรับอากาศทุกแบบ จะสามารถแบ่งส่วนประกอบของเครื่อง ออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ส่วนที่อยู่ภายในอาคาร (Indoor) เรียกว่า ชุดคอยล์เย็น หรือแฟนคอยล์ยูนิต และส่วนที่อยู่ภายนอกอาคาร (Outdoor) เรียกว่า ชุดคอยล์ร้อน หรือคอนเดนซิ่งยูนิต ซึ่งการทำงานของแต่ละส่วนก็จะมีลักษณะการทำงานที่คล้ายชื่อ คือ ชุดคอยล์เย็นก็จะมีหน้าที่สร้างความเย็น ส่วนชุดคอยล์ร้อนก็มีหน้าที่สร้างความร้อนออกมา และเครื่องปรับอากาศแต่ละชุดยังมีส่วนประกอบย่อยต่าง ๆ ซึ่งแต่ละส่วนประกอบของเครื่องต้องได้รับการดูแลบำรุงรักษาให้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพการใช้งานของเครื่อง และนอกจากนี้แล้วยังต้องมีการดูแลบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมออีกด้วย
การดูแลบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศจะทำให้เกิดประโยชน์ได้ 2 ทาง คือ
1. จะทำให้เกิดการประหยัดพลังงาน ประหยัดค่ากระแสไฟฟ้า ประหยัดค่าซ่อมบำรุง และยืดอายุการทำงานของเครื่อง
2. จะทำให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพอนามัยของผู้ใช้และผู้อยู่อาศัย เนื่องจากการล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศอยู่เสมอ จะช่วยขจัดเอาฝุ่นละออง เชื้อโรค เชื้อรา ที่เกาะติดอยู่กับส่วนต่าง ๆ ของเครื่อง และที่ล่องลอยอยู่ในอากาศภายในห้องออกไปด้วย (ฝุ่นละอองที่ล่องลอยอยู่ในอากาศจะถูกดักจับโดยแผงกรองฝุ่น ที่เรียกว่า ฟิลเตอร์) ซึ่งฝุ่นละออง เชื้อโรค เชื้อรา เหล่านี้ อาจเป็นสาเหตุของการทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคลีเจียนแนร์ วัณโรค หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ
วิธีการดูแล บำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
คอยล์เย็น หรือแฟนคอยล์ยูนิต เป็นตัวที่ติดตั้งอยู่ภายในห้องหรือภายในอาคาร มีส่วนประกอบย่อยที่จำเป็นต้องดูแลบำรุงรักษาและทำความสะอาดคือ
1. แผงกรองฝุ่น
ในเครื่องปรับอากาศทุกเครื่องจำเป็นต้องมีแผงกรองฝุ่นหรือฟิลเตอร์ เพราะฟิลเตอร์จะทำหน้าที่เป็นด่านแรกที่จะกรองอากาศโดยจะดักจับฝุ่นและสิ่งสกปรกอื่น ๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศไม่ให้ผ่านเข้าไปยังตัวแผงขดท่อคอยล์เย็น และเป่าเข้าสู่บรรยากาศภายในห้องได้อีก ฟิลเตอร์โดยทั่วไปมีใช้กันอยู่หลายชนิด ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับขนาด และรูปแบบของเครื่อง เช่น เป็นแบบใยสังเคราะห์สีขาวหรือดำลักษณะคล้ายเส้นด้ายไนล่อนมีขอบเป็นโครงพลาสติก หรือเป็นแบบใยสังเคราะห์สีดำโครงขอบเป็นเหล็กเส้นลวด หรือเป็นแบบเส้นใยอลูมิเนียมถัก (ปัจจุบันเครื่องปรับอากาศบางรุ่น มีฟิลเตอร์กรองกลิ่นและควันอยู่ด้วย) เราต้องดูแลทำความสะอาดฟิลเตอร์อยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ฟิลเตอร์อุดตันไปด้วยฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกต่าง ๆ เพราะถ้าฟิลเตอร์อุดตันจะทำให้ลมไม่สามารถหมุนเวียนผ่านคอยล์เย็นได้ ซึ่งจะทำให้เครื่องปรับอากาศไม่เย็น มีน้ำแข็งเกาะที่ตัวคอยล์เย็น และอาจมีน้ำหยดจากตัวเครื่องได้ เมื่อน้ำแข็งที่เกาะอยู่ละลาย
โดยที่ฟิลเตอร์มีจุดประสงค์เพื่อการกรองดักจับฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ดังนั้นฟิลเตอร์จึงมีโอกาสอุดตันจากสิ่งเหล่านี้ได้มาก การล้างทำความสะอาดจึงควรทำให้บ่อยครั้ง โดยดูความเหมาะสมจากสภาพแวดล้อมและการใช้งาน เช่น ถ้าติดตั้งเครื่องปรับอากาศในห้อง หรือในอาคารที่มีลักษณะการทำงานที่มีฝุ่นละอองมาก เช่น ห้องเตรียมผ้าสำหรับใช้ในการผ่าตัด ซึ่งห้องนี้จะมีฝุ่นใยผ้าเกิดขึ้นจำนวนมาก ดังนั้นการล้างฟิลเตอร์ควรต้องจะล้างทุกวัน หรืออย่างน้อยที่สุดทุกสัปดาห์ ส่วนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศในสถานที่ไม่ค่อยมีฝุ่นละอองมากนัก เช่น ห้องนอน ห้องพักผ่อน หรือห้องทำงานทั่วไป ก็ควรทำความสะอาดฟิลเตอร์ทุก ๆ หนึ่งเดือน หรือสามเดือน
วิธีการล้างฟิลเตอร์ทำได้โดยใช้น้ำแรง ๆ ฉีดที่ด้านหลังของฟิลเตอร์ (ด้านที่ไม่ได้รับฝุ่น) ให้ฝุ่นและสิ่งสกปรกหลุดออก หรือถ้าฟิลเตอร์เป็นแบบเส้นใยอลูมิเนียมถัก แบบเส้นใยไนล่อน ก็อาจใช้แปรงที่มีขนนิ่ม เช่น แปรงสีฟัน หรือแปรงทาสีช่วยปัดฝุ่นด้วยก็ได้
2.แผงขดท่อคอยล์เย็น
แผงขดท่อคอยล์เย็น คือตัวสร้างความเย็น มีรูปร่างเป็นเส้นท่อขดไปมาตามความยาวของเครื่อง และจะมีแผ่นครีบอลูมิเนียมบาง ๆ หุ้มขดท่อเหล่านั้นอยู่ แผงขดท่อจะมองเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อถอดหน้ากากส่งลม หรือหน้ากากรับลมกลับ ของเครื่องออก ที่แผงขดท่อนี้จะมีฝุ่นผงขนาดเล็กที่สามารถผ่านการกรองของฟิลเตอร์เข้ามาได้ เมื่อใช้งานไปนาน ๆ ฝุ่นเหล่านี้จะจับตัวกันหนาขึ้น และอากาศจะไม่สามารถผ่านได้ ซึ่งจะทำให้เครื่องปรับอากาศมีผลเช่นเดียวกันกับฟิลเตอร์ตัน จึงควรมีการล้างทำความสะอาดขดท่อและแผ่นอลูมิเนียม โดยในระยะเวลาในการล้างในรอบหนึ่งปี ควรมีการล้าง 1 ครั้ง
วิธีล้างทำความสะอาดให้ใช้แปรงสีฟัน หรือแปรงทาสี ปัดเอาฝุ่น ที่เกาะยึดติดอยู่ให้ออกก่อนด้วยการลากแปรงลงตามแนวล่องของแผ่นครีบอลูมิเนียม แล้วจึงค่อยเอาน้ำฉีดหรือราด เพื่อให้ฝุ่นที่เหลือหลุดตามน้ำออกมา แต่เนื่องจากฝุ่นละอองที่จับอยู่เป็นเวลานาน จะมีความเหนียวมาก บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้น้ำยาเคมีช่วยในการขจัดคราบสกปรกออก น้ำยาเคมีที่ใช้ต้องเป็นแบบที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศ ซึ่งจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อคน และไม่ทำลายวัสดุที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ เช่น แผ่นอลูมิเนียม ท่อทองแดง หรือพลาสติก ในการเอาน้ำฉีด น้ำยาเคมีที่ใช้ต้องเป็นแบบที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศ หรือเวลาราด ต้องระมัดระวังอย่าให้น้ำกระเด็นเปียกอุปกรณ์ไฟฟ้าของเครื่อง และควรระวังไม่ให้น้ำล้นถาดรองรับน้ำของเครื่อง
3. ใบพัดลมคอยล์เย็น
ใบพัดลมคอยล์เย็น หรือ โบลเวอร์ เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเคลื่อนที่ของลม โดยได้กำลังมาจากมอเตอร์ไฟฟ้า ฝุ่นผงขนาดเล็กที่เล็ดลอดมาจากการดักจับของแผงกรองอากาศบางส่วน จะมาจับอยู่ที่ใบพัดลม ทำให้ร่องดักลมของใบพัดลมอุดตันไม่สามารถดักลมได้เต็มที่ การเกิดในลักษณะเช่นนี้จะทำให้ปริมาณลมเย็นที่ออกไปจากคอยล์เย็นลดลง
จึงต้องเสียเวลาในการเดินเครื่องปรับอากาศนานขึ้น เพื่อที่จะให้ได้อุณหภูมิของห้องเท่าเดิม ซึ่งมีผลทำให้เสียค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น นอกจากฝุ่นที่เกาะตามใบพัดลมจะทำให้พัดลมส่งลมเย็นออกมาได้น้อยแล้ว อาจจะทำให้เกิดเสียงดังที่ตัวชุดคอยล์เย็นขึ้นได้ เนื่องจากฝุ่นที่จับอยู่จะไปเพิ่มน้ำหนักให้กับใบพัด ทำให้ใบพัดเสียการสมดุลในตัวเอง และเมื่อมอเตอร์หมุนจะเกิดการสั่นสะเทือนจากแรงเหวี่ยงและเกิดเสียงดังขึ้นได้ การล้างทำความสะอาดใบพัด ควรล้างทำไปพร้อมกับการล้างทำความสะอาดแผงคอยล์เย็น
4. ถาดรองรับน้ำทิ้งและท่อน้ำทิ้ง
เป็นอุปกรณ์สำหรับรองรับน้ำที่เกิดจากการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำของไอน้ำในอากาศภายในห้อง น้ำที่เกิดขึ้นนี้จะไหลไปรวมกันที่ถาดรองรับน้ำและถูกระบายทิ้งโดยผ่านทางท่อน้ำทิ้ง ที่ถาดรองรับน้ำทิ้งนี้ถ้าไม่ได้รับการดูแลหรือทำความสะอาดเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดเมือกขาวใสคล้ายวุ้น น้ำที่ขังอยู่ในถาดรองรับน้ำทิ้งเป็นเวลานานนี้ เมื่อรวมกับฝุ่นละอองต่าง ๆ ที่เกาะอยู่ตามถาดรับ ก็อาจเป็นแหล่งอาหาร หรือเป็นแหล่งสะสม ของเชื้อโรค เชื้อรา และทำให้เชื้อโรคเชื้อราเหล่านี้เจริญเติบโตและแพร่กระจายสู่ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้พักอาศัยภายในห้องและภายในอาคารได้ การทำความสะอาดถาดน้ำทิ้งโดยการใช้แปรงที่มีขนแข็งขัดถู หรือการถอดออกมาล้าง ส่วนท่อน้ำทิ้งทำได้โดยการใช้เครื่องเป่าลม เป่าลมเข้าไปตามท่อน้ำ หรือใช้น้ำที่มีแรงดันเล็กน้อยฉีดเข้าไปภายในท่อ (ต้องแน่ใจว่าในระบบท่อไม่มีรอยรั่ว)
วิธีการล้างทำความสะอาดถาดรองรับน้ำและท่อน้ำทิ้ง ควรทำไปพร้อมกับการทำความสะอาดแผงขดท่อคอยล์เย็นและใบพัดลม และควรตรวจดูแนวท่อน้ำทิ้งด้วยว่ามีลักษณะโค้งงอ (ตกท้องช้าง) หรือไม่ ถ้ามีต้องทำการแก้ไข เพราะท่อน้ำทิ้งช่วงที่โค้งงอตกท้องช้าง จะเป็นแหล่งที่รวมของน้ำและสิ่งสกปรก ซึ่งจะทำให้ท่อน้ำทิ้งอุดตัน และจะทำให้มีน้ำหยดจากบริเวณที่ท่อตกท้องช้างได้ เนื่องจากไอน้ำในอากาศกระทบท่อที่น้ำเย็นขังอยู่
5. ตัวโครงเครื่อง หน้ากากรับลม และหน้ากากจ่ายลม
ทำความสะอาดโดยการปัดฝุ่น หรือใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดถู หรือถ้าสามารถถอดออกได้จะนำไปล้างน้ำก็ได้ คอยล์ร้อน หรือคอนเด็นซิ่งยูนิต เป็นตัวที่ติดตั้งอยู่ภายนอกห้อง หรือภายนอกอาคาร ภายในชุดคอยล์ร้อนจะมีส่วนประกอบหลักอยู่สามส่วน คือ คอมเพรสเซอร์ มอเตอร์พัดลมพร้อมใบพัดลม และแผงขดท่อกับครีบอลูมิเนียม ชุดคอยล์ร้อนจะมีหน้าที่นำเอาความร้อนจากภายในห้องมาระบายออกทิ้งไป ดังนั้นลมที่เป่าออกมาจากคอยล์ร้อนจึงเป็นลมร้อน
การดูแลบำรุงรักษาคอยล์ร้อน จึงต้องทำให้เกิดการระบายความร้อนได้ดี โดยไม่มีวัตถุสิ่งของใด ๆ มาปิดบังทิศทางของการระบายของลม และดูแลไม่ให้มีฝุ่นหรือสิ่งอื่น ๆ มาปิดบังโดยเฉพาะที่แผงขดท่อและแผ่นอลูมิเนียมของคอยล์ร้อน เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวขวางกั้นไม่ให้ลมเข้าไปรับความร้อนจากชุดคอยล์ร้อนได้ ระยะห่างระหว่างชุดคอยล์ร้อนกับสิ่งกีดขวางที่ยอมรับได้ จะถูกกำหนดโดยข้อกำหนดเฉพาะในการติดตั้งของเครื่องปรับอากาศแต่ละรุ่น ซึ่งรวมถึงการเผื่อพื้นที่ว่างเพื่อการดูแลซ่อมบำรุงด้วย ถ้าคอยล์ร้อนสกปรก หรือมีสิ่งของมาปิดบังช่องทางการระบายลมทำให้ความร้อนไม่สามารถระบายออกมาได้แล้ว จะทำให้เครื่องปรับอากาศไม่มีความเย็น หรือเย็นน้อย กินกระแสไฟฟ้ามากกว่าปกติ และอาจทำให้คอมเพรสเซอร์เสียหายได้ การทำความสะอาดฝุ่นละอองที่เกาะอยู่ตามชุดคอยล์ร้อน สามารถใช้น้ำฉีดล้างได้ แต่ต้องระวังอย่าให้น้ำกระเด็นเข้าไปเปียกอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ ระยะเวลาในการล้างทำความสะอาดชุดคอยล์ร้อนควรล้างทุก 6 เดือน หรือทุก 12 เดือน
การดูแลสภาพทั่วไปของเครื่องอื่น ๆ เช่น น๊อต สกรู ยางรองแท่นเครื่องต่าง ๆ อย่าให้หลุดหรือหลวม เพราะอาจทำให้เกิดเสียงดังจากการสั่นสะเทือนได้ ดูแลฉนวนที่ใช้ป้องกันความร้อนต่าง ๆ ถ้าพบว่าชำรุดฉีกขาดควรแก้ไขหรือซ่อมบำรุง เพราะถ้าฉนวนที่ใช้ป้องกันความร้อนชำรุด จะทำให้ไอน้ำในอากาศกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในบริเวณนั้น และจะทำความเสียหายให้กับฉนวนส่วนอื่น ๆ อีก หรือน้ำที่เกิดขึ้นนั้นจะหยดลงบนฝ้าเพดาน หรือตามผนังห้อง (ในกรณีที่ฉนวนหุ้มท่อสารทำความเย็น หรือท่อส่งลมเย็น หรือท่อน้ำเย็น ชำรุด) ทำให้เกิดรอยคราบสกปรก และเกิดเชื้อราขึ้นได้
ข้อแนะนำ
เพื่อการใช้งาน การดูแลบำรุงรักษา และการตรวจซ่อมเครื่องปรับอากาศให้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพและรูปแบบของเครื่องปรับอากาศแต่ละเครื่อง ควรศึกษาทำความเข้าใจเอกสารคู่มือที่ให้มาพร้อมกับเครื่องปรับอากาศ และปฏิบัติตามคำแนะนำให้ถูกต้อง
คำเตือน
ก่อนดำเนินการตรวจสอบ ดูแล บำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ใด ๆ ที่มีไฟฟ้าป้อนอยู่ ต้องปิดสวิตซ์ หรือเบรคเกอร์ ตัดวงจรของระบบไฟฟ้าออกก่อนทุกครั้ง
4. ถาดรองรับน้ำทิ้งและท่อน้ำทิ้ง
เป็นอุปกรณ์สำหรับรองรับน้ำที่เกิดจากการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำของไอน้ำในอากาศภายในห้อง น้ำที่เกิดขึ้นนี้จะไหลไปรวมกันที่ถาดรองรับน้ำและถูกระบายทิ้งโดยผ่านทางท่อน้ำทิ้ง ที่ถาดรองรับน้ำทิ้งนี้ถ้าไม่ได้รับการดูแลหรือทำความสะอาดเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดเมือกขาวใสคล้ายวุ้น น้ำที่ขังอยู่ในถาดรองรับน้ำทิ้งเป็นเวลานานนี้ เมื่อรวมกับฝุ่นละอองต่าง ๆ ที่เกาะอยู่ตามถาดรับ ก็อาจเป็นแหล่งอาหาร หรือเป็นแหล่งสะสม ของเชื้อโรค เชื้อรา และทำให้เชื้อโรคเชื้อราเหล่านี้เจริญเติบโตและแพร่กระจายสู่ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้พักอาศัยภายในห้องและภายในอาคารได้ การทำความสะอาดถาดน้ำทิ้งโดยการใช้แปรงที่มีขนแข็งขัดถู หรือการถอดออกมาล้าง ส่วนท่อน้ำทิ้งทำได้โดยการใช้เครื่องเป่าลม เป่าลมเข้าไปตามท่อน้ำ หรือใช้น้ำที่มีแรงดันเล็กน้อยฉีดเข้าไปภายในท่อ (ต้องแน่ใจว่าในระบบท่อไม่มีรอยรั่ว)
วิธีการล้างทำความสะอาดถาดรองรับน้ำและท่อน้ำทิ้ง ควรทำไปพร้อมกับการทำความสะอาดแผงขดท่อคอยล์เย็นและใบพัดลม และควรตรวจดูแนวท่อน้ำทิ้งด้วยว่ามีลักษณะโค้งงอ (ตกท้องช้าง) หรือไม่ ถ้ามีต้องทำการแก้ไข เพราะท่อน้ำทิ้งช่วงที่โค้งงอตกท้องช้าง จะเป็นแหล่งที่รวมของน้ำและสิ่งสกปรก ซึ่งจะทำให้ท่อน้ำทิ้งอุดตัน และจะทำให้มีน้ำหยดจากบริเวณที่ท่อตกท้องช้างได้ เนื่องจากไอน้ำในอากาศกระทบท่อที่น้ำเย็นขังอยู่
5. ตัวโครงเครื่อง หน้ากากรับลม และหน้ากากจ่ายลม
ทำความสะอาดโดยการปัดฝุ่น หรือใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดถู หรือถ้าสามารถถอดออกได้จะนำไปล้างน้ำก็ได้ คอยล์ร้อน หรือคอนเด็นซิ่งยูนิต เป็นตัวที่ติดตั้งอยู่ภายนอกห้อง หรือภายนอกอาคาร ภายในชุดคอยล์ร้อนจะมีส่วนประกอบหลักอยู่สามส่วน คือ คอมเพรสเซอร์ มอเตอร์พัดลมพร้อมใบพัดลม และแผงขดท่อกับครีบอลูมิเนียม ชุดคอยล์ร้อนจะมีหน้าที่นำเอาความร้อนจากภายในห้องมาระบายออกทิ้งไป ดังนั้นลมที่เป่าออกมาจากคอยล์ร้อนจึงเป็นลมร้อน
การดูแลบำรุงรักษาคอยล์ร้อน จึงต้องทำให้เกิดการระบายความร้อนได้ดี โดยไม่มีวัตถุสิ่งของใด ๆ มาปิดบังทิศทางของการระบายของลม และดูแลไม่ให้มีฝุ่นหรือสิ่งอื่น ๆ มาปิดบังโดยเฉพาะที่แผงขดท่อและแผ่นอลูมิเนียมของคอยล์ร้อน เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวขวางกั้นไม่ให้ลมเข้าไปรับความร้อนจากชุดคอยล์ร้อนได้ ระยะห่างระหว่างชุดคอยล์ร้อนกับสิ่งกีดขวางที่ยอมรับได้ จะถูกกำหนดโดยข้อกำหนดเฉพาะในการติดตั้งของเครื่องปรับอากาศแต่ละรุ่น ซึ่งรวมถึงการเผื่อพื้นที่ว่างเพื่อการดูแลซ่อมบำรุงด้วย ถ้าคอยล์ร้อนสกปรก หรือมีสิ่งของมาปิดบังช่องทางการระบายลมทำให้ความร้อนไม่สามารถระบายออกมาได้แล้ว จะทำให้เครื่องปรับอากาศไม่มีความเย็น หรือเย็นน้อย กินกระแสไฟฟ้ามากกว่าปกติ และอาจทำให้คอมเพรสเซอร์เสียหายได้ การทำความสะอาดฝุ่นละอองที่เกาะอยู่ตามชุดคอยล์ร้อน สามารถใช้น้ำฉีดล้างได้ แต่ต้องระวังอย่าให้น้ำกระเด็นเข้าไปเปียกอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ ระยะเวลาในการล้างทำความสะอาดชุดคอยล์ร้อนควรล้างทุก 6 เดือน หรือทุก 12 เดือน
การดูแลสภาพทั่วไปของเครื่องอื่น ๆ เช่น น๊อต สกรู ยางรองแท่นเครื่องต่าง ๆ อย่าให้หลุดหรือหลวม เพราะอาจทำให้เกิดเสียงดังจากการสั่นสะเทือนได้ ดูแลฉนวนที่ใช้ป้องกันความร้อนต่าง ๆ ถ้าพบว่าชำรุดฉีกขาดควรแก้ไขหรือซ่อมบำรุง เพราะถ้าฉนวนที่ใช้ป้องกันความร้อนชำรุด จะทำให้ไอน้ำในอากาศกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในบริเวณนั้น และจะทำความเสียหายให้กับฉนวนส่วนอื่น ๆ อีก หรือน้ำที่เกิดขึ้นนั้นจะหยดลงบนฝ้าเพดาน หรือตามผนังห้อง (ในกรณีที่ฉนวนหุ้มท่อสารทำความเย็น หรือท่อส่งลมเย็น หรือท่อน้ำเย็น ชำรุด) ทำให้เกิดรอยคราบสกปรก และเกิดเชื้อราขึ้นได้
ข้อแนะนำ
เพื่อการใช้งาน การดูแลบำรุงรักษา และการตรวจซ่อมเครื่องปรับอากาศให้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพและรูปแบบของเครื่องปรับอากาศแต่ละเครื่อง ควรศึกษาทำความเข้าใจเอกสารคู่มือที่ให้มาพร้อมกับเครื่องปรับอากาศ และปฏิบัติตามคำแนะนำให้ถูกต้อง
คำเตือน
ก่อนดำเนินการตรวจสอบ ดูแล บำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ใด ๆ ที่มีไฟฟ้าป้อนอยู่ ต้องปิดสวิตซ์ หรือเบรคเกอร์ ตัดวงจรของระบบไฟฟ้าออกก่อนทุกครั้ง
ซื้อเครื่องซักผ้า
ฝาหน้าหรือฝาบนดี?
สมัยนี้แล้วยังมีใครซักผ้าด้วยมืออยู่รึเปล่า??!!
ใครที่เบื่อซักมือ
เครื่องซักผ้าเสีย ขี้เกียจซ่อม หรือกำลังมองหาเครื่องซักผ้าใหม่
แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกเครื่องซักผ้าประเภทใดจึงจะเหมาะกับการใช้งาน มีวิธีการเลือกซื้อเครื่องซักผ้ามาฝากกัน
1.
ปริมาณของผ้าที่จะซัก ถ้าคุณเป็นคนโสด
ประมาณว่าอยู่คอนโดคนเดียว
ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องซักผ้าถังใหญ่
เนื่องจากต้องใช้ปริมาณน้ำค่อนข้างมากในการซักผ้าแต่ละครั้ง แนะนำเครื่องซักผ้าขนาดประมาณ
3-5 กก. ก็พอแล้ว แต่ถ้าอยู่เป็นครอบครัวหลายคนก็เลือกแบบถังขนาดใหญ่ 6-8
กก.
ซักทีเดียวเยอะๆ คุ้มดี ไม่เปลืองน้ำ ไม่เปลืองไฟ
2.
รอบของการหมุน ยิ่งรอบในการหมุนมีความเร็วมากเท่าไหร่
ยิ่งมีผลต่อความเร็วในการซักผ้ามากขึ้นเท่านั้น
แต่ถ้าความเร็วรอบสูงไม่เหมาะกับผ้าที่เนื้อบาง
เนื่องจากจะทำให้เนื้อผ้าเกิดความเสียหายได้
แนะนำให้ใส่ในถุงตาข่ายสำหรับซักผ้าอีกชั้นก่อนใส่ลงในเครื่องซักผ้า
3.
ฝาหน้าหรือฝาบนดี?
- ฝาหน้า เชื่อกันว่าถนอมเนื้อผ้ามากกว่า
การเสียดสีของผ้าน้อยกว่าทำให้ผ้าไม่เป็นขุยหรือยืดย้วย
มีฟังก์ชั่นการซักและการปั่นแห้งเยอะกว่า สามารถทำความร้อนได้ในตัว
เลือกอุณหภูมิขณะซักได้ด้วย ที่สำคัญคือทนทาน ประหยัดน้ำ แต่ราคาค่อนข้างสูง ข้อดีของเครื่องซักผ้าฝาหน้าคือเป็นระบบอัตโนมัติ
ไม่ต้องยุ่งยากในการเติมน้ำ เปลี่ยนถังซัก
เพียงแค่ตั้งค่าไว้และรอเอาไปตากอย่างเดียว
เหมาะกับคนโสดและคนที่ต้องการความสะดวกสบาย
- ฝาบนแบบถังเดียว มีการทำงานแบบอัตโนมัติเช่นเดียวกับฝาหน้า
สะดวกสบายเหมือนกัน แค่ตั้งระบบซักหลังจากใส่ผ้าลงถังแล้ว เครื่องก็จะทำการจ่ายน้ำเข้าเครื่องและตัดให้อัตโนมัติ
จากนั้นก็จะซักจนถึงปั่นหมาดให้ในถังเดียว
โดยเครื่องที่มีฝาด้านบนแบบนี้จะมีแกนหมุนตรงกลาง เพื่อคอยหมุนให้ผ้าเสียดสีกัน
เป็นวิธีขจัดสิ่งสกปรกออกจากผ้านั่นเอง
- ฝาบนแบบถังคู่ เป็นเครื่องซักผ้ากึ่งอัตโนมัติ ที่แยกให้ถังหนึ่งสำหรับซัก
และอีกถังไว้สำหรับปั่นผ้าให้หมาด
ผู้ใช้งานจำเป็นต้องทำการเปลี่ยนผ้าจากถังซักมายังถังปั่นหมาดเอง
รวมทั้งต้องเติมน้ำเปลี่ยนน้ำซักเอง อาจดูยุ่งยากไปบ้าง
แต่ถ้าใครที่ชอบตั้งเวลาซักแบบตามสะดวกส่วนตัว และอยากแยกผ้าบางชิ้นออกมาตากก่อนทำการปั่นหมาดได้ทุกเมื่อรวมถึงอยู่ในครอบครัวใหญ่ที่ต้องซักผ้าปริมาณมากๆ
ก็ย่อมต้องชอบเครื่องซักผ้าแบบถังคู่นี้แน่นอน
สรุปแล้วคือดีทั้งคู่ ไม่จำเป็นต้องเลือกแบบที่ไฮเทคสุดยอดหรือเริ่ดหรูราคาแพง
ขึ้นอยู่งบประมาณของแต่ละบ้านว่ามากน้อยแค่ไหน
อาการเสียที่พบเจอได้บ่อยในเครื่องซักผ้า
- อาการน้ำไม่เข้าเครื่องหลังจากเครื่องทำการเซตผ้าในเครื่องแล้ว ให้ตรวจสอบแหล่งจ่ายน้ำว่า
ปกติดีอยู่หรือไม่
บางครั้งเจอในกรณีเครื่องที่ตั้งอยู่ภายในเฟอร์นิเจอร์แบบบิ้วอิน
และมีก๊อกน้ำติดตั้งอยู่ที่ด้านหลังเครื่อง
อาจจะไปดันคันปิด-เปิดก๊อกน้ำให้ปิดเองได้ พบเจอมาหลายเครื่อง
เจ้าของเครื่องก็มักจะไม่ค่อยเชื่อว่าเป็นไปได้ แต่เจอมาหลายเครื่องแล้วครับ
ทำให้เสียค่าบริการโดยไม่จำเป็น แต่ถ้าได้ตรวจเช็คแหล่งจ่ายต่างๆเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สาเหตุก็อาจจะมาจากตัวจ่ายน้ำของเครื่องเสีย..หรือไม่มีไฟมาจ่ายมาเลี้ยงวาวล์น้ำเข้าก็เป็นได้
ถ้ามาถึงขนาดนี้ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของช่างตัวจริงเถอะครับ
ตัวอย่างของวาวล์น้ำเข้า ตัวนี้เป็นของเครื่องซักแบบฝาบนส่วนของฝาหน้านั้นก็ไม่ได้แตกต่างกันมากซักเท่าไรนัก วิธีทดสอบว่าเจ้าวาวล์น้ำตัวนี้เสียหรือไม่ ก็ให้เอาไฟ 220 Volt (ก็ไฟบ้านนั่นแหล่ะครับ) มาลองต่อเข้ากับขั้วของวาวล์ การทดสอบให้ระมัดระวังให้มากๆอาจจโดนไฟดูดได้
-อาการเปิดเครื่องได้ตามปกติ แต่พอเติมน้ำได้ระดับแล้วเครื่องไม่ยอมซัก ถ้าเป็นเครื่องแบบฝาหน้านั้นให้ลองตั้งโปรแกรมไปที่ปั่นหมาดเพื่อทดสอบการถ่ายน้ำทิ้งของเครื่องด้วยถ้าเครื่องสามารถทำการถ่ายน้ำทิ้งได้แต่ไม่ยอมปั่นหมาดต่อ ให้ความสนใจไปที่ตัวมอเตอร์ซักก่อนเป็นอันดับแรกๆ แต่ถ้าเป็นเครื่องฝาบนนั้นให้เช็คสายยางเพรซเชอร์ก่อน อาจจะมีหนูหรือตัวอะไรต่างๆเข้าไปกัดหรืออุดทางเดินของอากาศก็เป็นได้ เช็คสายไฟไปด้วยพร้อมๆกันว่ามีรอยกัดขาดหรือไม่อย่างไร
มาว่ากันต่อถึงเรื่องการเช็คอาการเสียที่กล่าวมาในข้างต้นว่า ถ้าเครื่องเติมน้ำจนถึงระดับแล้วยังไม่มีการซัก หรือสั่งให้ปั่นหมาดแล้วเครื่องถ่ายน้ำออกได้แต่ไม่มีการปั่นหมาดเกิดขึ้นก็แสดงว่า น่าจะมีปัญหาที่ตัวของมอเตอร์ซักเองแล้ว อาจจะเกิดจากไม่มีไฟมาจ่ายให้ที่ตัวของมอเตอร์หรือเป็นที่ตัวมอเตอร์เอง เช่นตัวมอเตอร์แบบที่ใช้แปรงถ่านนั้น แปรงถ่านอาจจะหมดหรือสึกจนใช้ไม่ได้ ถ้าร้ายแรงก็อาจจะถูกับตัวคอมมิวเตเตอร์ของมอเตอร์ ถ้าเป็นแบบนี้ก็ต้องพึ่งช่างอย่างเดียวครับ ยกตัวอย่างเครื่องฝาหน้าก็หนีไม่พ้นเครื่องยี่ห้อ SEIMENS ในรุ่นที่ขึ้นต้นด้วย XLM และอิเลคโทรลักซ์ที่พบเจอได้บ่อยๆ
-อาการเครื่องซักได้ตามปกติ แต่ไม่ถ่ายน้ำทิ้ง/ไม่ปั่นหมาด ปกติในลำดับการทำงานของเครื่องซักผ้าไม่ว่าจะฝาหน้าหรือฝาบนนั้นจะมีขั้นตอนคร่าวๆดังนี้คือ....เปิดเครื่อง กด Startเครื่องจะทำการคำนวณน้ำหนักผ้าและเติมน้ำเข้าเครื่องตามที่ได้คำนวณไว้
....เมื่อเติมน้ำเข้าจนได้ระดับ เครื่องก็จะเริ่มทำการซักในรอบแรก จะนานหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับโปรแกรมของแต่ละเครื่องแต่ละรุ่นและยี่ห้อนั้นๆ ถ้าเป็นเครื่องฝาหน้านั้นก็อาจจะกินเวลานานนับชั่วโมง
....เมื่อทำการซักจนถึงโปรแกรมกำหนดก็จะเริ่มทำการ Drainหรือการถ่ายน้ำทิ้ง ในขั้นตอนนี้น้ำจะต้องถูกถ่ายออกภายในเวลาที่กำหนด ถ้ามีปัญหาในการถ่ายน้ำเช่น ไม่ทิ้งน้ำหรือน้ำทิ้งได้น้อยกว่าปกติ ในเครื่องฝาหน้านั้นก็อาจจะไม่ทำการปั่นหมาดหรือหยุดการทำงานไปเฉยๆ หรืออาจมีการเตือนโดยมีการแจ้ง Code ที่หน้าเครื่องเช่นเดียวกับฝาบน
....เมื่อเครื่องถ่ายหรือทิ้งน้ำเสร็จก็จะเข้าสู่กระบวนการการปั่นหมาด หรือหลายๆท่านชอบเรียกว่า "ปั่นแห้ง"
....เมือปั่นหมาดในครั้งแรกเสร็จก็จะเริ่มทำการซักในรอบต่อไป วนไปจนครบขั้นตอน
เรามาดูถึงสาเหตุของอาการเสียในลักษณะนี้กันว่าเกิดจากอะไรได้บ้าง
อย่างแรกที่มาอันดับหนึ่งก็คือ มีสิ่งกีดขวางในทางเดินของน้ำภายในท่อน้ำทิ้ง เช่น เหรียญ กิ๊ป กระดุม เศษผ้าที่หลุดออกจากชิ้นส่วนของเสื้อผ้า โครงเสื้อชั้นในรวมไปถึงถ้าเครื่องที่ใช้ไปนานๆก็จะมีตะกอนของสิ้งสกปรกที่มาจากผงซักฝอก/น้ำยาปรับผ้า
อย่างที่สอง น่าจะเกิดมาจากตัววาวล์น้ำทิ้งเองที่ไม่ทำงาน หรือถ้าหนักไปกว่านั้นก็อาจจะเป็นที่แผงควบคุมหรือบอร์ดไม่จ่ายไฟมาเลี้ยงให้กับตัววาวล์ก็เป็นได้ ส่วนใหญ่จะพบเจอได้น้อยมาก
บริการล้างเครื่องซักผ้า
ทางร้านมีบริการล้างเครื่อง ติดต่อ...086-4034006 ,092-2792442 ,038-802961
ยินดีให้บริการ
ตอบลบมีอะไหล่เครื่องฟอกอากาศขายป่าวครับ
ตอบลบเรียนผู้จัดการศูนย์บริการซ่อม ต้องการทราบราคาแผงควบคุมเครื่องซักผ้า ฮิตาชิ รุ่น SF-80CJ ปกรณ์ เนื้อเกลี้ยง 0813263868
ตอบลบมีอะไรเครื่องซักผ้าฮิตาชิขายแบบส่งพัสดุไหมคะ
ตอบลบน้ำรั่วบริเวณฝาหน้า เชคแล้วพบาสติกขาด คาดว่าน่าจะโดนกรรไกรหลุดเข้าไปตอนชัก มีอะไหล่เปลี่ยนมั้ยคั
ตอบลบHow to register and win casino site
ตอบลบCasino site is easy to use and very easy to learn for beginners to use and use. This is luckyclub very easy to learn for beginners. There are many different games that can be played
Casinos & Gambling - Casino - JMH Hub
ตอบลบCasino | Casino 김포 출장안마 | Play Online Slots | 인천광역 출장안마 Poker, Roulette | 구미 출장마사지 Mobile Gambling | Poker 춘천 출장샵 | Poker, Craps & more | Available in 수원 출장샵 English | 18+ | Mobile
สอบถามช่องฟิตตู้เย็นคะ
ตอบลบ